สรุปวิจัย

สรุปวิจัย





การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 





ดุษฎีนิพนธ์
 ของ
  วิจิตตรา  จันทร์ศิริ

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและ หลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
 3.เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


สมมติฐานของการวิจัย
    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังจากการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 



ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรได้แก่เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 1 จำนวน 480 คน

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปีที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ่จำนวน 35 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(  Purposive  sampling) 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
 1.รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 2.คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 3.แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 4.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 5.แบบวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสรุปผลได้ดังนี้
 1.รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.75 ถึง 4.25 โดยรูปแบบการสอนมี 6 ขั้นได้แก่ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรมขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
 2.ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนเรียนหลังเรียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานพบว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
 3.ผลการศึกษาเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานพบว่าเด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับมาก 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น